Pages

Friday, June 12, 2020

บุกจับ'ค้างคาวมงกุฏ'เขาสอยดาว จีนบอกเป็นที่มา'โควิด' - เดลีนีวส์

supokia.blogspot.com

เมื่อวันที่ 13 มิ.ย. นายสัตวแพทย์ภัทรพล มณีอ่อน พร้อมด้วย ดร.สุภาภรณ์ วัชรพฤษาดี จากศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ คนไทยคนแรกที่ค้นพบเชื้อไวรัสโควิด 19 ในไทย พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาว อ.สอยดาว จ.จันทบุรี ร่วมกันตรวจหาค้างคาวภายในถ้ำสะดอ โดยมุ่งเน้นไปที่การค้นหาค้างคาว “มงกุฎ” พบว่า มีอยู่จำนวนหนึ่ง จึงจับมากว่า 100 ตัว เพื่อนำมาตรวจสอบ เลือด น้ำลาย และอุจจาระ ก่อนนำตัวอย่างที่เก็บได้จากค้างคาวชนิดนี้ไปหาเชื้อไวรัสโควิด 19 อย่างละเอียดในห้องแล็ปต่อไป

ดร.สุภาภรณ์ เปิดเผยว่า สาเหตุที่ต้องเริ่มมีการตรวจสอบค้างคาวมงกุฏ เนื่องจากมีรายงานจากประเทศจีนว่า ไวรัสโควิด 19 ที่กำลังแพร่ระบาดในคนมีลักษณะเดียวกันกับไวรัสที่พบในค้างคาวมงกุฏ ที่สำคัญได้มีการพบค้างคาวชนิดนี้ในไทยด้วย ในเมืองไทยมีค้างคาวมงกุฏถึง 23 สายพันธุ์ จึงจำเป็นต้องค้นหาโรคและไวรัสโควิดในค้างคาวมงกุฏทุกสายพันธุ์ในเมืองไทย และเป็นครั้งแรกของไทยที่มีการหาเชื้อไวรัสโควิด 19 ในค้างคาวมงกุฏอย่างเป็นระบบ ทั้งนี้ การวิจัยเรื่องโรคจากค้างคาวที่เมืองไทยทำมาเกือบ 20 ปี ยังไม่เคยมีการตรวจสอบค้าวคาวมงกุฏแต่อย่างใด จึงยังไม่มีข้อมูลว่าค้างคาวมงกุฏมีเชื้อไวรัสโควิดหรือไม่ ซึ่งจะต้องหาคำตอบเรื่องนี้ให้ชัดเจน

อย่างไรก็ตาม ถ้ามองการพบเชื้อไวรัสโควิดในค้างคาวมงกุฏแบบเดียวที่พบค้างคาวสายพันธุ์นี้ในประเทศจีน เมืองไทยก็มีโอกาสจะพบเชื้อไวรัสนี้ แต่อัตราการติดเชื้อจะมีโอกาสมากหรือน้อยต้องตรวจสอบกันต่อไป ส่วนเชื้อไวรัสโควิด 19 ที่จะหมดไปจากเมืองไทย และไวรัสเดียวกันนี้จะกลับเกิดขึ้นในไทยจากค้างคาวมงกุฏหรือไม่ ขึ้นอยู่กับพฤติการณ์การกินอาหารของคนไทย หากไม่กินค้างคาวก็ยากจะได้รับเชื้อไวรัสโควิด 19 แต่ที่เป็นห่วงคือ คนที่ยังนิยมกินค้างคาวเป็นอาหาร มีโอกาสจะติดเชื้อได้ง่ายอย่างยิ่ง

ด้านนายสัตว์แพทย์ภัทรพล กล่าวว่า เป็นที่น่ากังวลที่ยังมีคนนิยมกินค้างคาว เพราะมีความเชื่อผิด ๆ การกิน การจับ มีโอกาสจะได้รับเชื้อไวรัสหรือเชื้อโรคใดๆ ก็ได้ จึงจำเป็นต้องทำคู่มือว่าด้วยเรื่องการอยู่กับค้างคาวอย่างปลอดภัยแจกจ่ายให้ประชาชน ขณะนี้กลุ่มนักวิจัยกำลังศึกษาเส้นทางการอพยพ เส้นทางการหากินของค้างคาว โดยเน้นไปที่ค้างคาวมงกุฏ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสหรือโรคที่มาจากค้างคาวในอนาคต เป็นการเตรียมความพร้อมในการรับมือกับไวรัส แต่วิธีป้องกันที่ง่ายที่สุด คือการไม่ไปทำลายสิ่งแวดล้อม ไม่ทำลายธรรมชาติหรือบุกรุกป่า ไม่ล่า ไม่ค้าสัตว์ป่า เชื้อโรคใด ๆ จากสัตว์ป่าก็ไม่สามารถมาสู่คนได้.


 

Let's block ads! (Why?)


June 13, 2020 at 06:31AM
https://ift.tt/3e4nYFm

บุกจับ'ค้างคาวมงกุฏ'เขาสอยดาว จีนบอกเป็นที่มา'โควิด' - เดลีนีวส์
https://ift.tt/2ZXuIAi
Home To Blog

No comments:

Post a Comment