Pages

Thursday, July 30, 2020

ไขปริศนาได้หนึ่งอย่าง! นักโบราณคดีค้นพบแหล่งที่มาหินที่ใช้สร้าง “สโตนเฮนจ์” - PPTVHD36

supokia.blogspot.com

สวนเวสต์วูดส์ในวิลต์ไชร์ (West Woods, Wiltshire) เป็นสถานที่ยอดนิยมสำหรับนักปีนเขา ผู้ที่พาสุนัขมาเดินเล่น และนักปั่นจักรยานเสือภูเขาในอังกฤษ โดยเฉพาะในช่วงฤดูใบไม้ผลิ บรรยากาศและความสวยงามอาจทำให้ผู้ที่เดินผ่านไปมาไม่ได้ให้ความสนใจก้อนหินที่เรียงรายอยู่ข้างทาง

ภาพความเสียหายโบราณสถานอายุ 700 ปีของจีนที่ถูกน้ำท่วมใหญ่

ยืนยัน ฟื้นฟูเรือนไม้โบราณ 127 ปี กลับสู่สภาพเดิม

งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่เผยแพร่เมื่อวานนี้ (29 ก.ค.) เผยให้เห็นว่า เมื่อ 4,500 ปีก่อน ที่จุดนี้ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งก้อนหินข้างทางเหล่านั้น แท้จริงแล้วเป็นหินซาร์เซน (Sarsen Stone) ชนิดเดียวกับที่เป็นส่วนประกอบของหนึ่งในความลึกลับของโลกอย่าง “สโตนเฮนจ์”

การวิจัยชิ้นนี้ประสบผลสำเร็จหลังจากได้รับชิ้นส่วนของหินก้อนหนึ่งกลับคืนมา โดยก่อนหน้านี้ถูกเก็บไว้เป็นที่ระลึกนานถึง 60 ปี ทำให้ทีมวิจัยสามารถสรุปได้ในที่สุดว่าก้อนหินซาร์เซนจำนวน 50 ก้อนใน 52 ก้อนที่ใช้ในการสร้างสโตนเฮนจ์ มาจากเวสต์วูดส์ ซึ่งนับดูแล้ว ระยะทางากเวสต์วูดถึงที่ตั้งสโตนเฮนจ์นั้น ห่างกันกว่า 20 กม.

งานวิจัยนี้ยังตั้งสมมติฐานเส้นทางที่ผู้สร้างสโตนเฮนจ์อาจใช้ในการลำเลียงหินซาร์เซนไปยังจุดพักของพวกเขาในที่ราบซาลิสบิวรี (Salisbury Plain) 24 กม. ทางใต้จากเวสต์วูดส์ อย่างไรก็ตาม วิธีลำเลียงและสร้างสโตนเฮนจ์ยังคงเป็นปริศนา โดยการวิจัยในอนาคตจะพยายามระบุแหล่งหินซาร์เซนที่เฉพาะเจาะจงในเวสต์วูดส์ เพื่อสืบหาบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่สร้างสโตนเฮนจ์ขึ้นมา

เดวิด แนช (David Nash) ศาสตราจารย์ด้านภูมิศาสตร์กายภาพ มหาวิทยาลัยไบรตัน (Brighton University) ผู้นำการวิจัย กล่าวว่า เขาถึงกับขนลุกเมื่อพิจารณาถึงความคิด ความพยายาม ของนักสร้างในโลกโบราณ

โดยทั่วไปแล้วหินซาร์เซนมีน้ำหนักราว 20 ตัน สูง 7 เมตร ทั้ง 52 ก้อนถูกนำมาจัดวางจนกลายเป็นสโตนเฮนจ์ ผู้เชี่ยวชาญได้พยายามทำการไขปริศนามาเป็นเวลากว่า 400 ปีแล้ว ก่อหน้านี้ได้เพียงข้อสรุปว่า หินซาร์เซนที่ใช้เป็นองค์ประกอบอาจมาจากทางเหนือของวิลต์ไชร์ แต่ไม่พบจุดที่แน่ชัด

ความก้าวหน้าเกิดขึ้นหลังจากทีมวิจัยได้รับคืนตัวอย่างรูปทรงหลอดของหินสโตนเฮนจ์จากคนที่เคยทำงานในโครงการฟื้นฟูในปี 1958 แนชและทีมของเขาได้รับอนุญาตให้ใช้เทคนิค “ทำลาย” เพื่อสร้าง "ลายนิ้วมือ" ทางธรณีเคมีของหินจากสโตนเฮนจ์

จากนั้นพวกเขาทำการวิเคราะห์หินซาร์เซนจาก 20 แหล่งทั่วภาคใต้ของอังกฤษ รวมถึง Mutter's Moor ในเดวอน (Devon) และ หุบเขาศิลาในดอร์เซต (Valley of the Stones, Dorset) โดยเปรียบเทียบองค์ประกอบและคุณสมบัติทางเคมี แนชกล่าวว่า พวกเขาแปลกใจที่หินจากเวสต์วูดส์มีลักษณะทางองค์ประกอบและธรณีเคมีเหมือนหินที่สโตนเฮนจ์ทุกประการ

อย่างไรก็ตาม ปริศนาอีกข้อหลงเหลืออยู่ นั่นคือ ทำไมหินซาร์เซนอีก 2 ก้อนใน 52 ก้อนของสโตนเฮนจ์ จึงไม่ปรากฏว่ามาจากเวสต์วูดส์ ความเป็นไปได้อย่างหนึ่งคือ นี่อาจเป็นผลงานของกลุ่มผู้สร้าง 2 กลุ่มขึ้นไป ที่เลือกแหล่งวัตถุดิบจากต่างพื้นที่กัน

ซูซาน กรีนีย์ (Susan Greaney) นักประวัติศาสตร์อาวุโสขององค์การอนุรักษ์แห่งอังกฤษ (English Heritage) กล่าวว่า เธอยินดีที่ได้ทราบคำตอบข้อหนึ่งเกี่ยวกับสโตนเฮนจ์

เธอกล่าวว่า “การที่สามารถระบุพื้นที่ที่ผู้สร้างสโตนเฮนจ์ใช้ในการจัดหาวัตถุดิบเมื่อประมาณ 4,500 ปีก่อนได้เป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นจริง ๆ ตอนนี้เราสามารถเริ่มที่จะเข้าใจเส้นทางที่พวกเขาอาจใช้ และเพิ่มชิ้นส่วนอีกหนึ่งชิ้นลงไปในปริศนานี้”

ไขปริศนาได้หนึ่งอย่าง! นักโบราณคดีค้นพบแหล่งที่มาหินที่ใช้สร้าง “สโตนเฮนจ์”

พบรอยเท้าปริศนาในเกาหลีใต้ คาดเป็นจระเข้โบราณเดิน 2 เท้า

พบพื้นกระเบื้องโมเสกโรมันโบราณสมัยศตวรรษที่ 3 ใต้เถาวัลย์ไร่องุ่นในอิตาลี

เรียบเรียงจาก The Guardian

Let's block ads! (Why?)


July 30, 2020 at 03:43PM
https://ift.tt/2Xbn8jx

ไขปริศนาได้หนึ่งอย่าง! นักโบราณคดีค้นพบแหล่งที่มาหินที่ใช้สร้าง “สโตนเฮนจ์” - PPTVHD36
https://ift.tt/2ZXuIAi
Home To Blog

No comments:

Post a Comment