คำ "ถวายเทียนจำนำพรรษา" จะเริ่มที่การ ตั้ง นะโม (3 จบ) แล้วกล่าว
บรรยากาศงานเทศกาลเข้าพรรษาทั่วไทย
"อิมัง ภันเต พุทธะปูชายะ วัสสะคะตัง ปะทีปัง สังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุ โน ภันเต สังโฆ อิมัง วัสสะคะตัง ปะทีปัง ปะฏิคัณหาตุ อัมหากัญจะ มาตา ปิตุ อาทีนัญจะ เปตานัง สัพพะวัญจะ อัมหากัญจะ เทวะตานัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ"
"ข้าแด่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวาย ซึ่งเทียนประจำพรรษาคู่นี้พร้อมกับของบริวาร ไว้ ณ อุโบสถนี้ เพื่อเป็นพุทธบูชาตลอดพรรษา แด่พระสงฆ์ ขอพระสงฆ์จงรับ ซึ่งเทียนประจำพรรษาเล่มนี้ เพื่อเป็นประโยชน์และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย และแก่ปิยชนทั้งหลายอันมี มารดา บิดา ญาติสายโลหิตมิตรสหายทั้งหลาย ที่ล่วงลับไปแล้วด้วย กับเทพเจ้าทั้งหลายทั้งปวงด้วย สิ้นกาลนานเทอญ"
ประเพณีตักบาตรดอกเข้าพรรษา วัดพระพุทธบาทฯ สระบุรี (คลิป)
8 อานิสงค์ของผู้ถวายเทียนจำนำพรรษา คือ
1.ทำให้เกิดปัญญา ทั้งในชาตินี้และชาติหน้า เปรียบเหมือนแสงสว่างแห่งเทียน
2.ทำให้ชีวิตสว่างไสวรุ่งเรือง ผู้ถวายย่อมเจริญด้วยลาภ ยศ สรรเสริญ
3.ทำให้คลี่คลายเรื่องราวต่างๆ ที่มีปัญหาร้ายกลับกลายเป็นดี
4.ย่อมเจริญไปด้วยมิตรและบริวาร
5.ย่อมเป็นที่รักของมนุษย์และเทวดาทั้งหลาย
6.เมื่อจากโลกนี้ไปแล้วย่อมมีกายทิพย์อันสว่างไสว
7.เมื่อลาลับโลกนี้ไปแล้วย่อมไปสู่สุคติและสวรรค์
8.หากสั่งสมบารมีมากพอ ย่อมทำให้เกิดดวงตาจักษุ คือปัญญารู้แจ้งเข้าสู่นิพพาน
เที่ยวประเพณีแห่เทียนพรรษากับ 6 จังหวัดสุดฮิต!
ย้อนไปดูที่มาของ “การถวายเทียนจำนำพรรษา”
ขอหยิบยกข้อมูลจาก วัดราชาธิวาสวิหาร ระบุไว้ว่า วันเข้าพรรษาเป็นวันที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงบัญญัติให้พระสงฆ์ทุกรูปที่บวชใหม่และบวชมานานมีพรรษามาก จะอยู่ในแห่งหนตำบลใดก็ตาม เมื่อถึงวันนี้แล้วจะต้องทำพิธีอธิษฐานพรรษา กล่าวคือ อธิษฐานเพื่ออยู่ประจำในวัดใดวัดหนึ่งที่ตนทำพิธีอธิษฐานนั้น ตลอดเวลา 3 เดือน
โดยพระภิกษุสงฆ์ต้องจำพรรษาเป็นเวลา 3 เดือน ระหว่างแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เพื่อไม่ให้พระสงฆ์ไปเหยียบย่ำข้าวกล้าของชาวนาให้ได้รับความเสียหาย โดยในวันเข้าพรรษามีประเพณีที่สำคัญ 2 ประเพณี ได้แก่ "ประเพณีแห่เทียนพรรษา" และ "ประเพณีการถวายผ้าอาบน้ำฝน"
ประเพณีแห่งการถวายเทียนจำนำพรรษา
เนื่องจากสมัยก่อนพระภิกษุสงฆ์ไม่มีไฟฟ้าใช้ ชาวบ้านจึงหล่อเทียนต้นใหญ่ขึ้น เพื่อถวายพระภิกษุสงฆ์จุดให้แสงสว่างในการปฏิบัติกิจวัตรต่างๆ เป็นพุทธบูชาตลอดเวลา 3 เดือน การนำเทียนไปถวาย ชาวบ้านมักจัดขบวนแห่กันอย่างเอิกเกริกสนุกสนานและปฏิบัติสืบทอดกันมาจนกลายเป็นประเพณี
โดยชาวพุทธซึ่งนับถือศาสนาพุทธจะทำเทียนเพื่อจุดบูชาพระรัตนตรัย โดยนำรังผึ้งร้างมาต้มเอาขี้ผึ้งแล้วฟั่นเป็นเทียนเล่มเล็ก ๆ มีความยาวตามต้องการ เช่น ยาวเป็นคืบ หรือเป็นศอก แล้วใช้จุดบูชาพระ
เทียนพรรษาเริ่มมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล ชาวพุทธจะยึดถือเป็นประเพณีนำเทียนไปถวายพระภิกษุในเทศกาลเข้าพรรษา เพื่อปรารถนาให้ตนเองเป็นผู้เฉลียวฉลาด มีไหวพริบ ประดุจแสงสว่างของดวงเทียน
อลังการ!ขบวนแห่เทียนพรรษาอุบลราชธานี-นครราชสีมา-สุพรรณบุรี
การถวายเทียนจำนำพรรษา เชื่อกันว่ามีสาเหตุ 2 ประการ คือ
1.พระอนุรุทธะ สาวกของพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นผู้มีปัญญาเฉียบแหลม ฉลาดรอบรู้พระธรรมวินัยอย่างแตกฉาน เพราะในชาติปางก่อนพระอนุรุทธะเคยให้แสงประทีปเป็นทาน
2.หญิงคนหนึ่งไปฟังธรรมที่เชตวนาราม เมืองสาวัตถี พอพลบค่ำก็ให้คนไปนำประทีปที่บ้านตนมาจุดให้แสงสว่างแก่คนที่มาฟังธรรม ครั้นนางตายไปก็ไปเกิดเป็นเทพธิดามีรัศมีเป็นแสงสว่างสวยงาม
ประเพณีการถวายเทียนจำนำพรรษาในประเทศไทย
วิจิตรอลังการ "เทียนพรรษาทองคำ" เมืองอุบลฯ มูลค่ากว่า 1 ล้านบาท
การถวายเทียนจำนำพรรษาได้กระทำขึ้นก่อนเทศกาลเข้าพรรษาแด่พระภิกษุสงฆ์ในพุทธศาสนาทุกปี คือก่อนวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 หรือเดือน 8 ที่สอง ในกรณีที่มีอธิกมาส พุทธศาสนิกชนก็จะพากันขวนขวายให้มีการถวายเทียนจำนำพรรษาแก่วัดในท้องถิ่นของตน เพื่อให้พระสงฆ์จุดบูชาพระรัตนตรัย เป็นเวลา 3 เดือน
การถวายเทียนจำนำพรรษาเป็นการถวายเทียนเข้าพรรษาของประชาชนล้านนาไทยมีวิวัฒนาการมาเป็นลำดับ จากการนำรังผึ้งมาต้มเอาขี้ผึ้งไปฟั่น เป็นเทียนนำไปถวายพระภิกษุ เอาเทียนเล่มเล็ก ๆ หลาย ๆ เล่ม มามัดรวมกันเป็นลำต้นคล้ายกับ ต้นกล้วย หรือลำไม้ไผ่ แล้วนำไปติดกับฐาน ซึ่งการมัดรวมกันแบบนี้เป็นสาเหตุหนึ่งที่นิยมเรียกว่า "ต้นเทียน" หรือ"ต้นเทียนพรรษา" นิยมทำกันมาช้านานแล้ว เรียกว่าถวาย "ผะติ๊ดเทียนไฟ" แต่ทำถวายกันเป็นส่วนตัว พอถึงเวลาก็พาลูกหลานภายในครอบครัวไปถวาย ไม่ได้ทำกันเอิกเกริกเป็นส่วนรวม ดังเช่นที่ทำกันในภาคเหนือ ภาคอีสานปัจจุบันนี้
สมัยก่อนเทียนพรรษามีความสำคัญเป็นอย่างมากเพราะพระสงฆ์ต้องใช้จุดให้แสงสว่างในการศึกษาพระธรรมวินัย แต่ในปัจจุบันนั้นเทียนพรรษาอาจจะมีความสำคัญลดน้อยไป ญาติโยมผู้มีจิตศรัทธาได้เปลี่ยนมาถวายหลอดไฟฟ้า ถ่านไฟฉาย เป็นต้นแทน แต่ถึงอย่างไรก็ยังมีการถวายเทียนพรรษากันอย่างต่อเนื่อง เพื่อรักษาไว้ซึ่งประเพณีอันดีงามของชาวพุทธไม่ให้สูญหายไป
เปิดถัง "สังฆทาน" ถวายอย่างไรให้ได้บุญ
เทียนเข้าพรรษา แบ่งออกเป็น 2 ชนิด
1.เทียนหลวง หมายถึงเทียนที่ทำขนาดใหญ่ มีความสูงตั้งแต่ 1 เมตรขึ้นไป ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางอย่างน้อย 8 นิ้ว
2.เทียนน้อย หมายถึงเทียนเล็ก คือขนาดโตกว่าเทียนไขธรรมดาเล็กน้อย แต่ก็จัดว่ามีขนาดใหญ่กว่าธรรมดาแล้ว
การถวายเทียนพรรษาเป็นประเพณีหนึ่งของชาวล้านนาที่นิยมทำกัน นอกจากหวังให้เกิดบุญเกิดกุศลแล้ว ถ้าทำเทียนใหญ่ย่อมก่อให้เกิดความสมัครสมานสามัคคีในหมู่คณะ จึงสมควรที่จะช่วยกันอนุรักษ์ประเพณีนี้โดยช่วยกันรักษาไว้ให้คงมีต่อไป อย่าให้เสื่อมสูญ
ประเพณีหลวงและประเพณีราษฎร
ประเพณีหลวง เรียกเป็นทางการว่า "การพระราชกุศลหล่อเทียนพรรษา"ประเพณีนี้พระมหากษัตริย์ทรงหล่อเทียนพรรษาด้วยพระองค์เอง และเสด็จพระราชดำเนินทรงจุดบูชาพระรัตนตรัยเฉพราะพระอารามหลวงที่สำคัญ นอกนั้นทรงโปรดเกล้า ฯ ให้ผู้ปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์
ประเพณีราษฎร เรียกกันว่า "เทียนจำนำพรรษา" หรือ "เทียนพรรษา" ประเพณีนี้ประชาชนเป็นผู้หล่อเทียนจำนำพรรษา ปัจจุบันเทียนพรรษามี 2 ชนิด คือ เทียนพรรษาแบบจุดได้ กันเทียนพรรษาแบบจุดไม่ได้ เทียนพรรษาแบบจุดไม่ได้นี้จะไม่มีไส้ มีแต่ไม้หรือเหล็กกันเทียนหัก เพราะทำขึ้นมาเพื่อประกวด หรือถวายเป็นพุทธบูชาเท่านั้น
ประเพณีการแห่เทียนจำนำพรรษานี้ เป็นประเพณีที่ถือปฏิบัติทั่วไปในประเทศไทย แต่ที่ทำกันเป็นประเพณีใหญ่โตที่สุด คือ จังหวัดอุบลราชธานี มีการแกะสลักต้นเทียนอย่างสวยงามและจัดประกวดแข่งขันก่อนแก่ไปถวายตามวัดต่างๆ
July 03, 2020 at 01:40PM
https://ift.tt/3itaXHG
ที่มาพร้อมบท"ถวายเทียนพรรษา" วันเข้าพรรษา สร้างอานิสงค์ 8 อย่างให้ชีวิต - PPTVHD36
https://ift.tt/2ZXuIAi
Home To Blog
No comments:
Post a Comment