Pages

Tuesday, August 11, 2020

ไขความเชื่อ "ขอขมาแม่" ลูกทำผิดแล้วไม่ได้รับอโหสิกรรม บาปหนักติดตัว - ไทยรัฐ

supokia.blogspot.com

ไขความเชื่อ "ขอขมาแม่" ทางพระพุทธศาสนา ลูกทำผิดแล้วไม่ขอขมา บาปหนัก ตกนรกจริงหรือ

ปฏิเสธไม่ได้ว่า "การขอขมา" เป็นความเชื่อที่อยู่คู่กับสังคมไทยมาช้านาน เมื่อถึงโอกาสสำคัญ เช่น วันแม่แห่งชาติ วันพ่อแห่งชาติ วันสงกรานต์ คนจะนิยมขอขมาพ่อแม่ ผู้มีพระคุณเพื่อขออโหสิกรรม ซึ่งมีวิธีการแตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นการสวดมนต์ กราบไหว้ ล้างเท้า แล้วรับพรจากผู้ใหญ่เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต

การขอขมา แท้จริงแล้วคืออะไร

พระมหาไพรวัลย์ วรวณฺโณ พระวัดสร้อยทอง ให้ความรู้ว่า ธรรมเนียมการขอขมาในสังคมไทยมีใช้กันมานานแล้ว คำว่า "ขะมะ" เป็นคำที่มาจากภาษาบาลี แปลว่า การขอโทษ มักจะใช้ในกรณีที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งกระทำความผิดต่อกัน เพื่อขอให้อีกฝ่ายยกโทษให้ เช่น ลูกทำความผิดต่อแม่ แล้วสำนึกได้ว่าสิ่งที่ทำลงไปเป็นความผิด ต้องการให้แม่ยกโทษให้จึงใช้วิธีการขอขมา

การขอขมา ทางพระพุทธศาสนา

พระมหาไพรวัลย์ กล่าวว่า โดยทั่วไปการขอขมาแบบไทย คนเป็นลูกจะต้องเตรียมพวงมาลัยดอกมะลิไปกราบแม่ เพื่อให้ดอกไม้สื่อแทนการขอโทษ หรือเป็นเครื่องหมายของความรัก

แต่ในทางพระพุทธศาสนา การขอขมาไม่ใช่เรื่องของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ลูกสามารถขอขมาแม่ คนเป็นแม่ก็สามารถขอขมาลูกได้เช่นเดียวกัน อยากให้ทุกคนเข้าใจก่อนว่า การขอขมาเป็นการกระทำทางใจ เปิดเผยความในใจต่อกัน ไม่จำเป็นต้องมีพิธีรีตรอง ไม่ต้องเตรียมธูปเทียน ดอกไม้ ไปกราบไหว้ ไม่จำเป็นต้องมีบทพูด แต่เป็นการสื่อสารความในใจต่อกัน

สรุปก็คือ การขอขมา ไม่จำเป็นต้องเป็นหน้าที่ลูกขอขมาแม่อยู่ฝ่ายเดียว คนเป็นแม่สามารถขอขมาลูกได้ ทั้งสองฝ่ายสามารถขอขมาระหว่างกันได้ เช่น แม่อาจจะพูดกับลูกว่า บางเรื่องแม่อาจจะจ้ำจี้จ้ำไชลูกมากไป หรือบางเรื่องแม่อาจจะเป็นตัวอย่างที่ไม่ดี แม่ต้องขอโทษลูกด้วยนะ ในกรณีเช่นนี้สามารถทำได้

ลูกทำผิดต่อแม่ ไม่ขอขมาจะเป็น "บาป"

เมื่อลูกทำความผิดต่อแม่ ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจทำร้ายแต่ไม่มีโอกาสได้ขอขมา ความเชื่อในทางพระพุทธศาสนาจะสอนว่า หากลูกตั้งใจทำสิ่งไม่ดีกับแม่ ท้ายที่สุดแล้วลูกก็จะถูกคนอื่นทำสิ่งเดียวกัน เป็นเหมือนกฎแห่งกรรม

รู้สึกผิด...ในวันที่ไม่มีแม่

พระมหาไพรวัลย์ กล่าวว่า เมื่อพ่อแม่ตายไปแล้ว สิ่งเดียวที่ลูกทำได้คือุทิศความดีของตัวเองส่งถึงท่าน แม้ว่าจะช้าไปแล้วก็ตามที แต่ถ้ายังระลึกได้ ก็ไม่มีคำว่าสาย ขอให้หมั่นทำความดีต่อไปเรื่อยๆ แล้วอุทิศความดีนั้นให้แม่ เพื่อไถ่โทษในสิ่งที่ทำผิดลงไปแล้วไม่สามารถกลับไปแก้ไขได้

การทำความดีไม่จำกัดแค่การไปวัดทำบุญ ถวายสังฆทาน กรวดน้ำ แต่เป็นการทำอะไรก็ได้ที่เป็นเรื่องดี ใจต้องระลึกว่าสิ่งที่ทำความดีไปนั้นก็เพื่อแม่ ปรับปรุงตัวเองให้ดีขึ้นก็เพื่อแม่ ยกตัวอย่าง ตอนแม่มีชีวิตไม่เคยดูแลแม่เลย ตอนนี้แม่เสียชีวิตไปแล้วสิ่งที่พอทำได้คือการไปบ้านพักคนชรา เลี้ยงอาหารผู้สูงอายุ ล้วนแต่เป็นความดีทั้งหมด ส่วนการขอขมานั้น เป็นการขอให้ยกโทษไม่เกี่ยวกับทำความดี

สำหรับการทำความดีกับแม่นั้น ไม่ใช่ว่าเมื่อถึงวันแม่ก็จะหาซื้อของขวัญให้แม่เท่านั้น การทำความดีกับแม่ที่ดีที่สุดคือ การระลึกอยู่เสมอว่า ร่างกายเราทุกวันนี้ได้มาจากแม่ เกิดและเติบโตมาด้วยความรัก ขอให้ใช้ชีวิตอยู่ต่อด้วยการส่งต่อความรักไปถึงคนอื่นๆ ด้วย

หลังจากฟังธรรมะจาก พระมหาไพรวัลย์ ไปแล้ว เชื่อว่าหลายคนคงจะได้รับข้อคิดดีๆ มาปรับใช้ในชีวิต ดังนั้นก่อนนอนคืนนี้ ใครที่พอมีเวลาอย่าลืมทบทวนการกระทำที่ผ่านมาว่าได้เผลอไปทำร้ายใครๆ หรือไม่

แม้ว่าสิ่งที่ทำผิดไปแล้วจะกลับไปแก้ไขอดีตไม่ได้ แต่เราเลือกที่จะขอโทษหรือทำสิ่งดีๆ ทดแทนได้ สวรรค์อยู่ในอก นรกอยู่ในใจ อย่าปล่อยให้สายเกินแก้. 

ผู้เขียน : J. Mashare
กราฟิก : Jutaphun Sooksamphun

อ่านเพิ่มเติม...

Let's block ads! (Why?)


August 12, 2020 at 07:30AM
https://ift.tt/3iJBSP9

ไขความเชื่อ "ขอขมาแม่" ลูกทำผิดแล้วไม่ได้รับอโหสิกรรม บาปหนักติดตัว - ไทยรัฐ
https://ift.tt/2ZXuIAi
Home To Blog

No comments:

Post a Comment