Pages

Thursday, August 27, 2020

นายกฯโยนสภาฯรื้อที่มาส.ว. - ผบ.ทบ.เล็งแถลงผลงานทิ้งทวน - กรุงเทพธุรกิจ

supokia.blogspot.com

28 สิงหาคม 2563

0

“อภิรัชต์” โต้ข่าวลือรัฐประหาร เตรียมแถลงผลงานก่อนทิ้งทวนตำแหน่ง ผบ.ทบ. ด้านนายกฯโยนสภา รื้อที่มา ส.ว. แนะเทียบอดีต-ปัจจุบัน ขณะที่เพื่อไทยแถลงจุดยืนแก้ รธน. แจงหัก “ก้าวไกล” ไม่รื้อที่มา ส.ว. เหตุอยู่ในวิสัยที่หารือกันได้

จากสถานการณ์การเมืองที่เริ่มครุกรุ่น ท่ามกลางข่าวลือเกี่ยวกับการเตรียมการรัฐประหารที่ปรากฏออกมาอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด มีคำยืนยันมาจาก พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) กล่าวภายหลังประธานพิธีเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันเปิดบก.ทบ. ครบรอบปีที่ 34 ถึงการปล่อยข่าวลือกระแสการรัฐประหารว่า สื่อเองยังพูดว่าข่าวลือเลย

 เมื่อถามย้ำว่า แต่อยากได้ยินจากปาก ผบ.ทบ.เอง พล.อ.อภิรัชต์ กล่าวว่า “นักข่าวยังพูดว่าข่าวลือ” เมื่อถามอีกว่าจะไม่เกิดขึ้นใช่หรือไม่ พล.อ.อภิรัชต์ ปฏิเสธที่จะตอบคำถามและเดินขึ้นห้องทำงานทันที

ส่วนการแถลงผลงานก่อนเกษียณอายุราชการในเดือนก.ย.คงเป็นเดือนหน้า เพราะจะมีการประชุมหน่วยขึ้นตรงกองทัพบกระดับผู้บังคับกองพันขึ้นไป ซึ่งตนจะพูดภาพรวมทั้งหมด เพราะทุกคนก็ทำงาน ไม่ใช่ตนทำคนเดียว ส่วนเรื่องการปฏิรูปกองทัพที่ผ่านมาตนก็ได้มีการไปชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 แล้ว โดยได้ตอบหมดทุกเรื่อง

ส่วนความคืบหน้าการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม กล่าวว่าเรื่องนี้เคยพูดไปแล้วก็เป็นเรื่องของพรรคร่วมรัฐบาลแต่ละพรรคต่างคนต่างทำ แต่อย่าลืมว่าขั้นตอนของกฎหมายว่าอย่างไรแต่เมื่อยังไม่มีรัฐธรรมนูญใหม่ก็ต้องใช้รัฐธรรมนูญเก่าไปดูจะแก้กันอย่างไรถ้ามันแก้ผิดวิธีมันก็วุ่นไม่เลิก

แนะเทียบโมเดลส.ว.อดีต-ปัจจุบัน

สำหรับข้อเสนอแก้ไขอำนาจสมาชิกวุฒิสภา(ส.ว.) เป็นเรื่องของพรรคร่วมรัฐบาล ส่วนความจำเป็นของส.ว.นั้นในส่วนของอำนาจที่มีการเรียกร้องกันอยู่ในขณะนี้ก็ต้องหารือกัน ไม่มีใครอยากโดนว่าหรือถูกตำหนิเพราะทุกคนก็ตั้งใจทำงานแล้วบ้านเมืองมีความสงบสุขหรือไม่ขอให้ไปดูตรงนั้นที่ผ่านมาเคยมีส.ว.อีกประเภทหนึ่งแล้วเป็นอย่างไรลองเปรียบเทียบดูอย่ามองประเด็นเดียวว่าเขาสนับสนุนให้ตนเป็นนายกฯประเด็นอื่นก็มีอีกเยอะ

ส่วนกรณีกลุ่มไทยภักดีนัดชุมนุมแสดงพลังเพื่อปกป้องประเทศและสนับสนุนรัฐบาลที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครในวันที่30ส.ค.นั้นการชุมนุมสนับสนุนรัฐบาลตนไปห้ามใครไม่ได้เ ก็ต้องดูว่าใครทำผิดกฎหมายบ้างถ้าผิดกฎหมายก็ต้องถูกดำเนินการ

กมธ.ศึกษาแก้รธน.ชงสภา31ส.ค.

ส่วนนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ วิสามัญพิจารณาศึกษาปัญหาหลักเกณฑ์และแนวทางแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงการประชุมว่า ขณะนี้รายงานของกมธ. เสร็จเรียบร้อยแล้ว คาดว่าวันจันทร์ที่ 31 ส.ค.จะยื่นรายงานต่อประธานสภาผู้แทนราษฎรต่อไป

ทั้งนี้รายงานไม่ได้เป็นลักษณะข้อสรุป เพราะกมธ.ชุดนี้ทำการศึกษาพิจารณาทั้งข้อดีข้อเสียและแง่มุมต่างๆ รายงานของกมธ. ไม่ได้มีแต่เรื่องการเมืองและการเลือกตั้ง แต่หัวใจรัฐธรรมนูญคือการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน

ส่วนเรื่องอำนาจส.ว.ในการเลือกนายกรัฐมนตรีที่หลายพรรคเห็นตรงกันว่าควรยกเลิก ในรายงานมีความเห็นหลานด้าน แต่กมธ.จะมีการใส่หลักการและเหตุผลในรายงาน คนที่เอาไปศึกษาจะได้เห็นเหตุผลและพิจารณาอีกทีหนึ่ง ย้ำว่าในรายงานไม่ได้มีบอกว่าเห็นด้วยหรือไม่ได้เห็นด้วยกับรัฐธรรมนูญ ตามระบบ เมื่อสภาผู้แทนราษฎรเห็นชอบแล้ว ก็จะส่งรายงานฉบับนี้ไปที่รัฐบาล โดยหลักการรัฐบาลก็ควรที่จะต้องเอารายงานนี้ไปศึกษาประกอบด้วย แต่ในทางปฏิบัติจริงๆ ก็อยู่ที่ผู้ที่จะมาทำหน้าที่ต่อไป ว่าจะให้ความสำคัญกับรายงานของกมธ. แค่ไหน ซึ่งก็ไม่ได้มีบทบังคับไว้

พท.เชื่อ120วันได้รธน.ฉบับใหม่

นพ.ชลน่าน ศรีแก้วส.ส.น่าน รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณีที่นายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร บรรจุญัตติของ5พรรคร่วมฝ่ายค้านที่เสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญเข้าสู่วาระการประชุมภายในวันที่30ส.ค.นี้ว่าถือเป็นเรื่องที่ดีที่เราจะได้มาพูดคุยกันในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรแต่การดำเนินการดังกล่าวอยากให้นายชวนเปิดประชุมรัฐสภาเพื่อหารือให้ได้ข้อยุติจะเป็นเรื่องที่ดีที่สุด

“การเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ควรเปิดให้ประชาชนสามารถเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างขึ้นมาร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการเขียน กฎหมายสูงสุดของประเทศเชื่อว่าภายใน120วันจะได้รัฐธรรมนูญใหม่หากรัฐบาลไม่ประวิงเวลาเชื่อว่าภายใน6เดือนได้รัฐธรรมนูญใหม่แน่นอนส่วนหลังจากได้รัฐธรรมนูญใหม่รัฐบาลจะอยู่หรือไปก็ขึ้นกับผู้มีอำนาจว่าจะตัดสินใจอย่างไร”นพ.ชลน่านกล่าว

เพื่อไทยแถลงจุดยืนแก้รธน.

วันเดียวกันพรรคเพื่อไทยออกแถลงการณ์ ถึงจุดยืนต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งพรรคมีมติไม่ร่วมลงชื่อในญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับอำนาจสมาชิกวุฒิสภา ในมาตรา 272 หรือการยกเลิกสมาชิกวุฒิสภาตาม มาตรา 269 การยกเลิกหน้าที่ และอำนาจของวุฒิสภาในเรื่องการติดตาม เสนอแนะ และเร่งรัดการปฏิรูปประเทศ ตาม มาตรา 270 การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่วุฒิสภาหรือสภาผู้แทนราษฎรยับยั้งไว้ตาม มาตรา 137 (2) หรือ (3) ตาม มาตรา 271 นั้น ขอชี้แจงว่า

1. พรรคว่า รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมีปัญหามากมายในแทบทุกหมวด รวมทั้งบทเฉพาะกาล ซึ่งรวมทั้งสิ้นมี 279 มาตรา หลายปัญหาโยงใยเกี่ยวข้องกันในหลายหมวด และหลายบทมาตรา

2. พรรครัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมีขึ้นเพื่อลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชน และมุ่งสืบทอดระบอบเผด็จการอำนาจนิยม โดยเห็นได้ชัดเจนจากบทบัญญัติในหลายมาตรา จนสมาชิกของพรรคหลายคนถูกข่มขู่ คุกคาม ถูกเรียกไปปรับทัศนคติ และถูกดำเนินคดีนับไม่ถ้วน

3. การแก้ไขมาตราใดมาตราหนึ่ง หรือประเด็นใดประเด็นหนึ่ง หรือหลายประเด็น ไม่สามารถทำให้รัฐธรรมนูญฉบับที่ออกแบบมาเช่นนี้กลายเป็นรัฐธรรมนูญแบบประชาธิปไตยที่เป็นของประชาชน  จึงเห็นว่า ในเบื้องต้นมีเพียงหนทางเดียวนั่นคือ การสร้างกลไกให้ประชาชนเป็นผู้ร่างและให้ความเห็นชอบในร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ซึ่งต้องทำทั้งฉบับ

หนุนตั้งส.ส.ร.-รื้อมาตรา256

4. ส.ส.ร.ที่มาจากการเลือกตั้ง เพื่อยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ และให้ประชาชนทั้งประเทศลงประชามติจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด เพราะประชาชนจะเป็นผู้แก้ปัญหาต่างๆของประเทศด้วยตัวเขาเอง พรรคจึงได้ยกร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 256 เพื่อให้มี ส.ส.ร. และแก้ไขเงื่อนไขที่ทำให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญที่แทบเป็นไปไม่ได้ ให้เป็นไปตามปกติเช่นรัฐธรรมนูญฉบับก่อนๆ

5. ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 256 ดังกล่าว พรรคเพื่อไทยยกร่างตั้งแต่ก่อนการเลือกตั้งในเดือนมีนาคม 2562 และได้เสนอพรรคร่วมฝ่ายค้าน 7 พรรคในขณะนั้นตั้งแต่กลางปี 2562 โดยกำหนดว่าจะไม่แก้ไขในหมวด 1 และหมวด 2 เพราะพรรคเพื่อไทยเคยได้รับบทเรียนมาแล้ว ด้วยการถูกกล่าวหา และดำเนินคดีฐานล้มล้างการปกครอง และอาจยังมีความพยายามที่จะอ้างคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 18-22 / 2555 ว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับต้องทำประชามติก่อน

6. ร่างรัฐธรรมนูญที่พรรคเสนอก่อนยื่นญัตติ ส.ส.ของพรรคก้าวไกล จำนวน 21 คน ขอถอนชื่อออก โดยให้เหตุผลว่าร่างแก้ไขมาตรา 256 ดังกล่าวมีการสงวนไม่แก้ในหมวดที่ 1 และหมวดที่ 2 ไว้ ทั้งๆที่ผู้เข้าร่วมประชุมของพรรคก้าวไกลในวันที่ 13 ส.ค. พ.ศ.2563 ประกอบด้วย หัวหน้าพรรค เลขาธิการพรรค และเปลี่ยนใจในวันที่ 17 ส.ค.

ที่มาส.ว.อยู่ในวิสัยหารือกันได้

7. การดำเนินการของพรรคในการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันด้วยการให้มี ส.ส.ร. นั้น เป็นไปโดยสุจริต มุ่งหวังผลสำเร็จที่เป็นจริง จากความร่วมมือกันของทุกฝ่ายให้เป็นโรดแมพของประเทศ เพื่อมีกติกาใหม่ที่ทุกอย่างต้องจบที่กติกานี้ ซึ่งเป็นกติกาของประชาชน และ8. การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในประเด็นอื่นๆ ที่กล่าวมาข้างต้น โดยเฉพาะเรื่องอำนาจของสมาชิกวุฒิสภา ที่มาของวุฒิสภา และ มาตรา 279 นั้น ล้วนแต่อยู่ในวิสัยที่จะร่วมปรึกษาหารือ และสร้างความเห็นพ้องร่วมกันต่อไปในห้วงเวลาที่เหมาะสม ไม่ใช่การสนองความต้องการของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง โดยไม่คำนึงถึงสภาพความเป็นจริง และปัจจัยเกื้อหนุนที่จะทำให้ประสบความสำเร็จ

“ปิยบุตร” ยันชงปิดสวิตช์ ส.ว.

นายปิยบุตร แสงกนกกุล แกนนำคณะก้าวหน้า ให้สัมภาษณ์ว่า เหตุผลของการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น เรามองว่า 1.ต้องมี ส.ส.ร.มาร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับโดยไม่ต้องจำกัดว่าห้ามแก้หมวดใดหมวดหนึ่ง และ 2.ระหว่างทางที่รอการพิจารณาในสภาฯ ว่าจะได้ส.ส.ร.เมื่อไหร่ เราสามารถเสนอเข้าไปคู่ขนานได้คือ การเสนอญัตติเพื่อยกเลิกรัฐธรรมนูญมาตรา 269-272 ซึ่งเป็นการปิดสวิตช์ส.ว. รวมทั้งการยกเลิกมาตรา 279 ที่รับรองประกาศ การกระทำของคณะรัฐประหารก่อนหน้านี้ เพราะกว่าจะมีส.ส.ร. กว่าจะแก้ไขจนมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เกิดขึ้นอาจใช้เวลา 1-2 ปี หากเกิดอุบัติเหตุการเมือง พล.อ.ประยุทธ์ ยุบสภา ซึ่งการยุบสภาจะไม่เกิดความหมายอะไร ถ้ายังมี 250 ส.ว.ที่ยังมีอำนาจเลือกนายกฯ 

จึงเสนอให้มีการปิดสวิตช์ส.ว.ไปก่อน หากยังประสงค์จะมีส.ว.อีกก็ค่อยให้เข้ากลับมาตามช่องทางปกติ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 107 พล.อ.ประยุทธ์ จะได้กลับมาเป็นนายกฯ อย่างสง่างาม ไม่มีคำครหา ทั้งนี้ ส.ว.หลายคนยอมยกเลิกอำนาจตัวเอง ตามมาตรา 272 แต่บางคนก็ไปไกล ยอมถึงขั้นให้ยกเลิก 250 ส.ว.ไปเลย ทำให้สถานการณ์ชุมนุมผ่อนคลาย คลี่คลายลง

ส่วนความเห็นที่ต่างกับพรรคเพื่อไทย ตอนนี้เป็นคนนอกแล้ว จึงไม่ทราบว่าเขาประชุมอะไรกัน หรือมีความขัดแย้งอะไรกัน ซึ่งในฐานะคนนอกที่มองเข้าไปนั้นเชื่อว่า พรรคการเมืองแต่ละพรรคมีอิสระต่อกัน

Let's block ads! (Why?)


August 28, 2020 at 09:15AM
https://ift.tt/32uBuNT

นายกฯโยนสภาฯรื้อที่มาส.ว. - ผบ.ทบ.เล็งแถลงผลงานทิ้งทวน - กรุงเทพธุรกิจ
https://ift.tt/2ZXuIAi
Home To Blog

No comments:

Post a Comment